เมนู

วิภังควรรค



1. ภัทเทกรัตตสูตร



ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ


[526] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่าง:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำตรัส
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุเทศ
และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงอุเทศและ
วิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
[527] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง
ไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และ
สิ่งที่ยังไม่มาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล
ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่
คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้ บุคคลนั้น
พึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุโปร่งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใคร

เล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความ
ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อม
ไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อม
เรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความ
เพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลาง
คืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

[528] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
อย่างไรคือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ใน
กาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่
ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่
ล่วงแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.
[529] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
อย่างไรคือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้
ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาล
ที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วง
แล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว .
[530] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่าง
ไรคือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ใน
กาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

[531] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
อย่างไรคือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่าง
นี้ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาล
อนาคต พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.
[532] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
อย่างไรคือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาด
ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูป
โดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็ง
เห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่า
มีเวทนาบ้าง เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมเล็ง
เห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง เล็งเห็นสัญญา
ในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็น
อัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็น
อัตตาในสังขารบ้าง ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็น
อัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณ
บ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.
[533] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
อย่างไร คือ อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาด
ในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็ง
เห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง

ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง
ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็น
สัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง ไม่เล็งเห็น
สัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสังขาร
โดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่เล็งเห็นสังขาร
ในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณใน
อัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.
[534] บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง
ไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และ
สิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล
ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่
คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้ บุคคลนั้น
พึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุโปร่งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่า
จะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความ
ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อม
ไม่มีแต่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อม
เรียกบุคคลผู้มาปกติอยู่อย่างนี้ มีความ
เพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลาง
คืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวไว้ว่า เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลายนั้น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าว
แล้วด้วยประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบภัทเทกรัตตสูตร ที่ 1

วิภังควัคควัณณนา



อรรถกถาภัทเทกรัตตสูตร



ภัทเทกรัตตสูตร มีคำขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
ในภัทเทกรัตตสูตรนั้น บทว่า ภทฺเทกรตฺตสฺส ความว่า ชื่อว่า ผู้มี
ราตรีหนึ่งเจริญ เพราะความที่เขาเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยการตามประกอบวิปัสสนา.
บทว่า อุทฺเทสํ ได้แก่ มาติกา. บทว่า วิภงฺคํ ได้แก่ บทที่พึงแจกแจง
โดยพิสดาร. บทว่า อตีตํ ได้แก่ในขันธ์ห้าที่ล่วงแล้ว. บทว่า นานฺวาคเมยฺย
ความว่า ไม่ควรนึกถึงด้วยตัณหาและทิฐิทั้งหลาย. บทว่า นปฺปฏิกงฺเข
ความว่า ไม่พึงปรารถนาด้วยตัณหาและทิฐิทั้งหลาย. บทว่า ยทตีตํ
นี้ในคาถานี้เป็นการกล่าวถึงเหตุ. เพราะสิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละไปแล้ว
ดับแล้ว ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่
ล่วงไปแล้วนั้นอีก. อนึ่ง เพราะสิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่ถึง ยังไม่เกิด
ยังไม่บังเกิด เพราะฉะนั้น บุคคลไม่พึงปรารถนาสิ่งที่ยังไม่มาถึงแม้นั้น บทว่า
ตตฺถ ตตฺถ ความว่า บุคคลผู้เข้าถึงธรรมแม้ปัจจุบันในธรรมใด ๆ เห็นแจ้ง
ธรรมนั้น ด้วยอนุปัสสนา 7 อย่าง มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ในธรรมนั้น ๆ
เที่ยว. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเห็นแจ้งในธรรมนั้น ๆ ในที่ทั้งหลายมีป่าเป็นต้น .
บทว่า อสํหิรํ อสงฺกุปฺปํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อทรงแสดงวิปัสสนา
และปฏิวิปัสสนา. จริงอยู่วิปัสสนาย่อมไม่ง่อนแง่น ย่อมไม่คลอนแคลนด้วย
กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เพราะฉะนั้น วิปัสสนานั้น ชื่อว่า อสํหิรํ ไม่
ง่อนแง่น ชื่อว่า อสํกุปฺปํ ไม่คลอนแคลน. ท่านกล่าวอธิบายว่า บุคคลพึง